สัมภาษณ์ล่าสุดโยโคะ ทาโระ - เกมเป็นสื่อที่ดีที่สุดที่จะใช้ควบคุมใครสักคน
------------------------------
ประวัติส่วนตัว
------------------------------
- ทาโระมาจากนาโงยะ จังหวัดไอจิ พ่อแม่ทำกิจการร้านอาหาร มีหลายสาขา พ่อแม่กลับบ้านดึกประจำ
- ตัวทาโระถูกย่าเลี้ยงดูเป็นหลักมา ย่าเป็นคนเข้มงวด ให้ตั้งใจเรียน แต่ก็เป็นคนที่ให้ทาโระกินทุกอย่างที่อยากจะกิน แม้ว่าจะเป็นพวกอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพก็ตาม
- ตอนเรียน ม.ปลาย เรียนสายวิทย์ แล้วสอบตก แต่ตัวเองสนใจเกม แอนิเม เลยหันไปทางสายศิลป์
- ตัวเขาเองน่าจะได้ข้อคิดเรื่องการบริการลูกค้ามาจากพ่อแม่ ทุกวันนี้ไม่ได้มองตัวเองเป็น Artist แต่มองว่าตัวเองเป็น Entertainment Creator
- ยุค 2000 ช่วงที่ทาโระเป็น dev ใหม่ ๆ เขาจำไม่รู้ลืมกับ ICO และ Ikagura
- แอนิเมที่ประทับใจก็ Neon Genesis Evangelion และ Farewell Space Battleship Yamato
- หนังชอบ The Thing (1982), DEAD OR ALIVE: Criminal และ Interstellar
- เกมสมัยก่อน มันมีโครงสร้างเป็นลูป เล่นไปเรื่อย ๆ แบบไร้จุดหมาย แต่เขาชอบ Gradius ที่โครงสร้างเหมือนภาพยนตร์ และมีฉากจบจริง
- วัยเด็กยุค 80 โอตาคุ/Geek แบบเขาเป็นคนซอกหลืบในห้องเรียน ก็ไม่ได้รู้สึกผูกพันกับคนอื่น ๆ แต่อย่างใด แต่ 40 ปีต่อมาวัฒนธรรมโอตาคุ แผ่ขยายกลายเป็นกระแสหลักในญี่ปุ่นไปแล้ว การแบ่งประเภทของโอตาคุก็สลายไป
- ทาโระบอกว่าในเอเชียเรามีการประดับตกแต่งมาสค็อตตามท้องถนนได้ แต่ในโลกฝั่งตะวันตกไม่ค่อยมี เกม แอนิเม มังงะ ที่จะดังในตะวันตกได้ ต้องมีความคิดและธีมลึกซึ้ง แค่เนื้อเรื่องตัวละครง่าย ๆ ไม่พอ
- ในญี่ปุ่นไม่มีพรมแดนระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ บ่อยครั้งผู้ใหญ่ก็อ่านผลงานโง่ ๆ ได้ หรือบางทีสร้างงานสำหรับทุกเพศทุกวัย แต่ดันมีธีมซับซ้อน
- ทาโระเข้าใจว่าในฝรั่งเศส การ์ตูนมันถูกบีบกลาย ๆ ให้ต้องทำเป็นงานศิลปะ
------------------------------
ทัศนคติต่อสังคม
------------------------------
- สาเหตุที่ใส่ใจตัวละครหญิงมากกว่าตัวละครชาย ก็ง่าย ๆ เลยเพราะว่าเขาชอบผู้หญิง การเป็นเพศตรงข้ามมันลี้ลับกว่า
- เป้าหมายในการสร้างเกมคือสร้างสิ่งที่ตัวเองไม่เกลียดและเอ็นจอยกับมันได้
- ทาโระบอกว่ามนุษย์ไม่เข้าใจกันและกัน ตัวเขาเองยังไม่เข้าใจหัวใจและสมองตัวเองเลย เขาไม่ค่อยสนใจโครงสร้างสังคมส่วนรวม แต่ชอบความเป็นปัจเจกบุคคลมากกว่า
สื่อถามว่าที่ทาโระคิดว่าใครก็ตามที่อ้างว่าเป็นฝ่ายธรรมะ เป็นคนดี ก็ย่อมสามารถทำเรื่องทารุณกรรมได้ เพราะอะไร? ทาโระบอกว่าเขาก็ยังคงมั่นใจแบบนั้น เพราะมนุษย์คือคนที่สร้างโลกใบนี้ขึ้นมา โลกที่กระทั่งในปี 2024 เด็ก ๆ ก็ยังคงถูกฆ่าในสงคราม
"มนุษย์ล้มเหลวในการใช้เหตุผล และกำลังกลับคืนสู่ยุคของการใช้อารมณ์..."
"ความขัดแย้งเหล่านี้ ทำให้ผมเชื่อว่าเผ่าพันธุ์ของเรา ยังคงเด็กเกินไปที่จะใช้เหตุผลกันได้อย่างเต็มที่"
"ในความคิดของผม การแบ่งแยกในตอนนี้ การเลือกปฏิบัติ ความแตกต่าง จะได้รับการแก้ไข แต่ไม่ใช่เพราะการไกล่เกลียประสานหรือมีการสร้างระบบยูโทเปียที่มอบความเสมอภาคปรองดองกันขึ้นมาได้ แต่เป็นเพราะจะมีข้างใดข้างหนึ่ง ที่พินาศไปก่อน เมื่อเราไปถึงจุดแห่งปณิธานนั้นแล้ว มนุษยชาติก็จะพินาศไปอย่างช้า ๆ เพราะไม่เหลืออะไรให้ทำอีกต่อไป
"ผมคิดว่าชีวิตของเราไม่มีความหมาย การดำรงอยู่ของเราโคตรไร้สาระ แต่ก็สารภาพตามตรงว่ายังไม่อยากยอมรับว่าโลกมันเป็นเช่นนั้น และผมก็พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงมัน"
------------------------------
เกมอาจเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงโลกใบนี้
------------------------------
สื่อถามว่าไม่กี่ปีก่อน ทาโระเคยบอกว่าเกมมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงโลกนี้ได้งั้นเหรอ?
"ที่ผมจะสื่อคือ เกมเป็นสื่อที่ดีที่สุดที่จะใช้ควบคุมใครสักคน และทำให้พวกเขามีความคิดอย่างที่ต้องการ"
สื่อถามว่าเห็นชอบสร้างจักรวาลที่ล่มสลาย หายนะ เหตุการณ์ฟุคิชิมะมีผลต่อจินตนาการของคุณรึเปล่า?
- ทาโระบอกว่าบอกตามตรง เหตุผลหลักที่เล่าเรื่องโลกที่ล่มสลาย เพราะต้นทุนมันถูกกว่าการสร้างโลกของสิ่งมีชีวิต อีกครึ่งนึงคือเขาก็ชอบจักรวาลแบบนี้, ส่วนเหตุการณ์ฟุคุชิมะนั้นไม่เกี่ยว ตัวเมืองโตเกียวเอง ก็แผ่นดินไหวแรงประจำ ถึงแม้เขาจะช็อคเวลาดูข่าวคนตายทีละเยอะ ๆ แต่มันก็ไม่ได้มีอิทธิพลกับงานของเขานะ
- ทาโระบอกว่า AI และ Deepfake เป็นเครื่องมือขยายความปรารถนาของมนุษย์ เขามั่นใจว่าโลกนี้ ความต้องการอันแรงกล้าจะเป็นฝ่ายชนะไป
- สื่อยกว่าที่ฝรั่งเศสเขายกย่องทาโระ เทียบเท่าฮิเดโอะ โคจิมะ, ชิเงรุ มิยาโมโตะ และฟุมิโตะ อุเอดะ แต่ทาโระบอกว่าพวกนั้นเป็นอัจฉริยะ แต่เขาไม่ใช่ เขาก็เห็นว่าตัวเองไม่คู่ควรกับคำชมเหล่านี้ (ถ่อมตน)
------------------------------
วงการเกมญี่ปุ่นจากนี้และต่อไป
------------------------------
สื่อถามวงการเกมญี่ปุ่นตอนนี้เป็นยังไง?
- ทาโระบอกยุคคนแก่แบบเขาใกล้อวสานแล้ว ถึงรุ่งอรุณของเจนฯ ใหม่แล้ว แต่คงใช้เวลาอีก 10 ปี กว่าพลังของคนหนุ่มเหล่านี้จะเบ่งบานในสายตาทั่วโลก พวกอายุต่ำกว่า 30 เขารู้การใช้ middleware และ tool ล้ำ ๆ มากกว่าเยอะ
- แต่ทาโระก็มองว่าเด็กรุ่นนี้ ไม่กล้ายืนหยัดตัวตน เขาคิดว่ายุคนี้โตมากับการเห็นคนโดนแขวนประจานในอินเตอร์เน็ต ก็เลยโตมาโดยมีแนวโน้มที่จะปฏิเสธความท้าทาย เพลย์เซฟเอาไว้ก่อน
- ทาโระบอกว่า Dev ญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่เกิดในยุค 70 แบบเขา เช่น ฟุมิโตะ อุเอดะของ ICO, เคอิจิโระ โทยามะของ Siren, เท็ตสึยะ โนมุระ ของ FFVII, ฮิเดคิ คามิยะ ของ Bayonetta มีหลายเหตุผลที่คนดังมากระจุกตัวในกลุ่มวัยนี้ แต่น่าจะเป็ยเพราะ พวกเขาคือเจนฯ แรกที่สร้างสภาพแวดล้อมในเกมแบบ 3D ขึ้นมาในวงการเกม
- แต่ทาโระก็เชื่อว่าสภาพแวดล้อมของการพัฒนาเกมมันเจริญขึ้น เทคโนโลยีใหม่อย่าง AI ก็ผงาดเข้ามา มีเจนฯ ใหม่เกิดขึ้น เติบโตมาในกระบวนทัศน์ใหม่เอี่ยม เขาก็จะรอคอยดูเกมในอนาคตในฐานะผู้เล่นต่อไป
- ปิดท้ายสื่อถามว่าถ้าอยากเข้าใจจักรวาลงานอาร์ตของทาโระมากขึ้น ควรดูงานอะไรดี? ทาโระก็บอกว่าเขาขอแนะนำหนังที่เขาชอบคือ The Greatest Showman เป็นภาพยนตร์ที่ตัวละครหลักไม่ได้มีมิติ เนื้อเรื่องไม่มี big theme มีแค่เดินหน้าไปตามโมเมนตัม แต่ความอลังการของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ภาพยนตร์มันยอดเยี่ยม พอดูแล้วก็ทำให้เข้าใจว่าแก่นแท้ของ entertainment ก็คือการสร้างปาฏิหาริย์ในโลกอันแปลกประหลาดขึ้น
Post a Comment