งานแปลในยุค 80-90s

วันก่อนมีคุยเรื่องข้อจำกัดในการแปลของยุค 80-90 กับคุณทรังซ์ด้วย สนุกดี

คุณทรังซ์บอกว่าแม่เขาก็เป็นนักแปลเหมือนกัน สมัยก่อน จะเรียนรู้จะค้นความหมายของศัพท์ญี่ปุ่น ก็ได้แต่เปิดจากดิกชันนารีเล่มหนา ๆ หาทีละคำ ทำให้การแปล การเรียนรู้ของคนในสมัยนั้น เป็นไปอย่างเชื่องช้า จะหาความหมายแต่ละคำ ก็ใช้พลังงานชีวิตโคตรเยอะแล้ว แถมจะหา ref ที่มาของแต่ละคำก็ลำบาก ทั้งหมดเพราะอินเตอร์เน็ต (ไลฟ์สตรีมของมนุษย์โลก) ยังไม่ได้ถือกำเนิดขึ้นมาและยังไม่ได้พัฒนาจนก้าวล้ำพอ

อืม ผมตอนประถม ก็ได้แต่นั่งเปิดดิกภาษาอังกฤษแบบนั้นแหละ จน ม.ปลาย ถึงได้มี talking-dict ใช้ ก็รู้สึกว่าช่วยให้เรียนรู้ได้ไวขึ้นมากเลย

ในโลกก่อนปี 2000 แอนิเมที่เราดูทั้งหมดก็เป็นเสียงภาษาไทย การ์ตูนก็เป็นแปลไทยหมด แปลผิดแปลถูกเราก็ไม่รู้ แถมพอดูแบบไทย ๆ หมดแบบนี้ มันก็ไม่ได้ช่วยในการเรียนรู้ด้วย ต่างจากช่วงผมเริ่มเข้า ม.ปลาย ที่เน็ต 1M เริ่มเข้ามาในไทย คนเริ่มโหลดบิทแอนิเมมาดู แล้วบิทแอนิเมที่ว่ามันก็เป็นซับไทยเถื่อนที่แปลกันเอง (ซึ่งแม้จะแปลไม่ได้ถูกทั้งหมด แต่การทำให้เด็กได้คลุกคลีกับประโยคภาษาญี่ปุ่น พร้อมมีซับไตเติลไทยไปด้วย มันก็ช่วยพัฒนาการในการเรียนรู้ภาษาอย่างมาก)

ผมเองกับคุณทรังซ์ เหมือนกันอย่างนึงคือ เริ่มอ่านคาตาคานะ ฮิรางานะเป็น จากการเล่นโปเกมอน และยูกิโอเนี่ยแหละ

ทุกวันนี้พอมองย้อนกลับไปดูผลงานการแปลของคนในยุค 80-90 บ่อยครั้งเราก็เอาจุดผิดพลาดของเขามาล้อเลียนกันอย่างสนุกปาก แต่ผมกับคุณทรังซ์ก็รู้สึกเคารพเหมือนกันว่า ภายใต้ข้อกัดในเทคโนโลยี การเรียนรู้ และอุปกรณ์ในยุคนั้น การที่คนรุ่นนั้นเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นจนแปลได้ขนาดนั้น แม้อาจจะไม่ได้สมบูรณ์ถูกต้องร้อย ก็เป็นเรื่องที่เยี่ยมยอดมากแล้ว #respect

แต่แล้วผมก็ตบท้ายประเด็นด้วยการบอกคุณทรังว่า "แต่ไอ้จอมเวทย์มนต์ดำกาลูนี่ก็ไม่ไหวนะ 555 ผมตอน ม.ต้น อ่านครั้งแรกก็รู้แล้วว่าแม่งแปลผิดดดดด อีนักรบแม่เหล็กบัลคิรอน กับ จั๊ดจิมัน ด้วยยยย"

ไม่มีความคิดเห็น